ในฐานะวาทยกร ของ จอห์น วิลเลียมส์

บอสตัน ป็อปส์ ออร์เคสตร้า (Boston Pops Orchestra)

ในช่วงปี ค.ศ.1977-1978 อาร์เธอร์ ฟิดเลอร์ (Arthur Fiedler) ผู้อำนวยการและวาทยกรประจำวงบอสตัน ป็อปส์ ออร์เคสตร้า ได้ล้มป่วย ในบางคอนเสิร์ตไม่อาจสามารถไปเป็นวาทยกรเองได้ ในคอนเสิร์ตหนึ่งของฟิดเลอร์ที่จัดในทุกๆปี ณ ฮอลลีวูด โบว์ล (Hollywood Bowl) ในลอส แองเจอลิส (Los Angeles) กับวง Los Angeles Phiharmonic วิลเลี่ยมส์ได้รับสายจากผู้จัดการของวง ซึ่งโทรมาเพื่อร้องขอให้วิลเลี่ยมส์ ช่วยมาเป็นวาทยกรแทนฟิดเลอร์ที่กำลังล้มป่วยในคอนเสิร์ตครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่ทำให้วิลเลี่ยมส์วิตกไม่น้อย เนื่องด้วยไม่เคยเป็นวาทยกรทำการแสดงต่อสาธารณชนมาก่อน แต่วิลเลี่ยมส์ก็ตอบตกลง

ต่อมาในปี ค.ศ.1979 วิลเลี่ยมส์ได้ไปที่บอสตัน (Boston) เพื่อไปเป็นวาทยกรในคอสเสิร์ตให้กับวงบอสตันป็อปส์อยู่สอง-สามครั้ง แทนฟิดเลอร์ ที่กำลังล้มป่วยอยู่ และได้เสียชีวิตใน ค.ศ.1979 ส่วนตัววิลเลี่ยมส์กับฟิดเลอร์นั้นไม่เคยได้พบเจอกัน เพียงแต่เคยพูดคุยกันทางโทรศัพท์เท่านั้น

ในปี ค.ศ.1980 ขณะที่วิลเลี่ยมส์ทำดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์สตาร์วอร์สเรื่องที่สอง จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (The empire strikes back) อยู่ที่ลอนดอน (London) ทอม มอร์ริส (Tom Morris) ซึ่งเป็นผู้จัดการของวงบอสตัน ป็อปส์ ได้บินไปหาวิลเลี่ยมส์ที่ลอนดอน เพื่อเสนอให้วิลเลี่ยมส์มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของวง เป็นวาทยกรแทนฟิดเลอร์ วิลเลี่ยมส์ไม่กล้าปฏิเสธ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตอบตกลงในทันที วิลเลี่ยมส์กล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่ค่อนข้างหลงตัวเองมาก เมื่อได้คิดถึง กับการที่ได้รับข้อเสนอให้เป็นผู้อำนวยการของสถาบันทางดนตรีอเมริกันย่างบอสตัน ป็อปส์ ที่เป็นที่เคารพยกย่อง, มีชื่อเสียง และประสบความสำเร็จอย่างสูง" วิลเลี่ยมส์แสดงความไม่มั่นใจกับมอร์ริสว่าตนนั้นมีกระสบการณ์ การเป็นวาทยกรแสดงสาธารณะเพียงไม่กี่ครั้งเองเท่านั้น แต่มอร์ริสก็ให้ความเชื่อมั่นว่าวิลเลี่ยมส์สามารถทำได้แน่ วิลเลี่ยมส์คิดไตร่ตรองเรื่องนี้อย่างหนัก ถามความเห็นจากเพื่อนและครอบครัว จนในที่สุดวิลเลี่ยมส์จึงตอบตกลง และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและวาทยกรประจำวงบอสตัน ป็อปส์ ตั้งแต่ ค.ศ.1980-1994 ซึ่งในช่วงเวลานี้นั้น วิลเลี่ยมส์ก็ยังคงประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ มีผลงานอยู่ไม่ขาดตลอด 14 ปีที่เขาเป็นผู้นำวงบอสตัน ป็อปส์

วงบอสตัน ป็อปส์ ภายใต้การนำของวิลเลี่ยมส์ วิลเลี่ยมส์ได้เปิดทำการแสดงในสาธาณะที่ต่างๆ ทั้งคอนเสิร์ต การถ่อยทอดทางโทรทัศน์ และวิลเลี่ยมส์ยังได้พาวงบอสตัน ป็อปส์ไปเปิดทำการแสดงที่ญี่ปุ่นอีกด้วย

กับวงบอสตัน ป็อปส์ วิลเลี่ยมส์ได้ทำการแสดงดนตรีประกอบภาพยนตร์มากขึ้น วิลเลี่ยมส์กล่าวว่าในช่วงแรกเริ่มที่ตนเองได้มาเป็นวาทยกร เพื่อไม่ให้เป็นที่ครหา วิลเลี่ยมส์จึงไม่ใช้ดนตรีที่ตนเองประพันธ์ในการจัดแสดง แต่เมื่อไปจัดทำการแสดงที่ใดๆ ผู้ชมมักจะเรียกร้องเสมอ เพราะเมื่อพูดถึงชื่อจอห์น วิลเลี่ยมส์ พวกเขาจะนึกถึงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังที่วิลเลี่ยมส์ประพันธ์ แต่เมื่อมาชมวิลเลี่ยมส์ทำการแสดง กลับไม่มีดนตรีของวิลเลี่ยมส์เลย ดังนั้น วิลเลี่ยมส์จึงเริ่มแสดงดนตรีที่ตนเองประพันธ์ขึ้น รวมถึงดนตรีประกอบภาพยนตร์ของนักประพันธ์คนอื่นๆ ในภาพยนตร์ที่โด่งดังและเป็นที่คุ้นหู และยังสืบทอดดนตรีแบบเดิมที่วงบอสตัน ป็อปส์แสดง อาทิ แนวเพลงอเมริกันคลาสสิค รวมถึงดนตรีคลาสสิคที่เป็นอมตะ เป็นต้น

หลังจากปี ค.ศ.1994 วิลเลี่ยมส์กลายมาเป็นวาทยกรกิตติมศักดิ์ของวงบอสตัน ป็อปส์ ได้รับเชิญให้มาเป็นวาทยกรพิเศษในหลายๆคอนเสิร์ตที่วงบอสตัน ป็อปส์ได้จัดขึ้น รวมถึงวงดนตรีออร์เคสตร้าอื่นๆในอเมริกา ก็ได้เชิญให้วิลเลี่ยมส์มาเป็นวาทยกรในฐานะแขกพิเศษอีกด้วย

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จอห์น วิลเลียมส์ http://www.cbc.ca/news/canada/newfoundland-labrado... http://www.8notes.com/biographies/john_williams.as... http://fpdownload.adobe.com/strobe/FlashMediaPlayb... http://www.afi.com/tvevents/100years/scores.aspx http://www.filmmusicbox.com/boutique_us/page_actus... http://www.filmmusicnotes.com/celebrating-star-war... http://www.filmmusicnotes.com/celebrating-star-war... http://www.filmmusicnotes.com/celebrating-star-war... http://www.filmreference.com/film/83/John-Williams... http://www.filmtracks.com/titles/jedi.html